Skip to main content

แก้วกระดาษ, ฝาแก้วกระดาษ, ชามกระดาษ แบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

 Sustainable Packaging

ในปี 2562 ที่ผ่านมาทั่วโลกเผชิญหน้า และกระตือรือร้น ในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง เหล่านั้นรวมไปถึงมาตรการ การนำเข้า และส่งออกสินค้าที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ ภาคส่วนธุรกิจที่น่าจะมีผลกระทบโดยตรง  ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น    ถุงพลาสติก หรือ บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ 

ดังนั้น หลายประเทศจึงหันมาให้ความสำคัญและหามาตรการการแก้ปัญหา โดยกำหนดนโยบายในการจัดการขยะ โดยยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก  รวมถึงรณรงค์ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้  

ประเทศในสหภาพยุโรป หรือ  อียู - ห้ามการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง โดยมีผลกับ สมาชิกทั้ง 28 ประเทศ ภายในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีมาตรการให้ผู้ผลิต รับผิดชอบ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือสามารถรีไซเคิลได้โดยมีผลกระทบถึงสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่วางจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป โดยจะเริ่มใช้มาตรการนี้ในปี 2573 เป็นไป 

โดยผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหาร ต่างๆ แก้วกระดาษ, ฝาปิดแก้วกระดาษ, ชามกระดาษ, ถุงกระดาษ สำหรับใส่อาหารจำพวกเบเกอรี่, แพ็กเกจจิ้งบรรจุอาหาร, บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน, ซึ่งในแต่ละประเทศ ก็ยังมีมาตรการการจัดการขยะพลาสติกของตัวเอง

 

Waste disposal measures

แต่ละประเทศมีมาตรการ “การกำจัดขยะ” อย่างไรบ้าง

  • ประเทศฝรั่งเศส- เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ คือ จะยกเลิกพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งภายในปี 2040 และสามารถ รีไซเคิลพลาสติกได้ 100 % ปี 2025
  • ประเทศสวีเดน - เป็นประเทศที่มีระบบบการจัดการขยะ เป็นอันดับ 1 ของโลก มีระบบการมัดจำถุงพลาสติก เพื่อเป็นการป้องกันการทิ้งถุงพลาสติกไปอย่างสูญเปล่า
  • ประเทศเดนมาร์ก – มีการเก็บภาษี ถุงพลาสติก จากผู้ค้าปลีก เพื่อกดดันให้ผู้ประกอบการคิดค่าธรรมเนียม แก่ผู้บริโภค และ กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้ ถุงพลาสติก ที่สามารถนำกลับใช้ซ้ำ หรือ ถุงพลาสติก ที่ผลิตมาจากพลาสติกที่ใช้แล้ว (Post - Consumer recycle)
  • ประเทศอังกฤษ – มีการเก็บภาษี ถุงพลาสติก และ ห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในโดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2015 โดยมาตรการดังกล่าวสมามารถลดพลาสติกที่ใช้ในประเทศมากถึง 80 %
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา – มีนโยบายผลักดันให้ประชาชนใช้ ถุงที่สามารถใช้ซ้ำได้ ( Reusable bag ) และมีการห้ามใช้ถุงพลาสติกโดยเด็ดขาด โดยเมืองแรกที่ทำ คือ ซานฟรานซิสโก นอกจากนี้ยังมี มาตรการล่าสุด โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน มีนาคม 2020 นี้ คือ รัฐนิวยอร์กห้าม ร้านค้าให้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแก่ผู้บริโภค

จากมาตรการดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคใหญ่ๆหลายแบรนด์ตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม และมุ่งออกแบบ และพัฒนาเกี่ยวกับการ ผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน  หรือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของตัวเองมากยิ่งขึ้น

คุณเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน…

จากมุมมอง และการตระหนักถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด(มหาชน) จึงได้มีการวิจัย และพัฒนา บรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ผลิตมาจากพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

TPBI Terra

 

บรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตมาจาก พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ต่างจากบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกทั่วไป อย่างไร ?

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คือ พลาสติกที่มีการย่อยสลายด้วยเอนไซม์จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติ เมื่อย่อยสลายหมดแล้ว จะกลายเป็นน้ำ มวลชีวภาพ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  โดยมีส่วนประกอบที่ทำมาจากพืช ตัวอย่าง เช่น แก้วกระดาษ ชามกระดาษ ฝาปิดแก้วกระดาษ ที่ทำจากกระดาษเกรดผลิตอาหาร และเคลือบด้วยพลาสติกชีวภาพ Polybutylene Succinate (PBS) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถย่อยสลายได้หลังการฝังกลบ ภายใน 180 วัน

สรุป

ไม่ว่าคุณเองจะเป็นองกรค์เล็กหรือใหญ่ หรือเป็นธุรกิจขาดเล็ก คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ เช่นกัน ด้วยการสร้างบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาคส่วนเล็กๆริเริ่ม เมื่อร่วมกัน ก็จะกลายเป็นภาคส่วนกลุ่มใหญ่ๆ ในวันข้างหน้า มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน “การสร้างบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน”

TPBI contact terra

 

 

 Reference

greennetworkthailand

- รูปจาก  Shutter stock