Skip to main content

TPBI กับความยั่งยืน

                

นโยบายการจัดการด้านความยั่งยืนระดับองค์กร

 

            TPBI Group มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย การสร้าง การมีส่วนร่วม ความเชื่อมั่นและคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสีย มุ่งมั่นในการบริหารจัดการประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติเศรษฐกิจที่ชัดเจน รวมทั้งมุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยง การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการแสวงหาโอกาสให้เหมาะสมต่อธุรกิจ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งบริษัทและตลอดสายโซ่อุปทานผ่านช่องทางต่าง ๆ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน บูรณาการทั่วทั้งบริษัท และปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนบริษัทให้มีการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โปร่งใส ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล โดยรักษาสมดุลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัท ทั้งนี้ บริษัททบทวนนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัทเป็นประจำทุกปี โดยพิจารณาสถานการณ์ แนวโน้ม ทิศทางการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งข้อกำหนด เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนให้บริษัทบรรลุวิสัยทัศน์ ทิศทาง กลยุทธ์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืนเป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยแนวทางการดำเนินงานตามกรอบกลยุทธ์และความยั่งยืนสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ตรวจวัด ประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลด้านความยั่งยืนของบริษัท เพื่อกำหนดแนวทาง การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจให้สามารถบูรณาการแนวปฏิบัติสากลด้านความยั่งยืนเข้าไปในระดับองค์กรทั้งห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทาน
  • ปลูกฝังแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

                  การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้บริษัทได้มีการสื่อสาร และทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกใช้เป็นกรอบในการกำหนดประเด็นสำคัญในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท และส่งผลให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้ครบทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้เสียเป็นการดำเนินงานตลอดปี ที่บริษัทจำแนกผู้มีส่วนได้เสียเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 

  • พนักงาน

    ความต้องการ/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

     

     

  • ผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมทุน เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน

    ความต้องการ/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

     

     

  • องค์กรอิสระ และนักวิชาการ

    ความต้องการ/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

  • ชุมชน สังคม

    ความต้องการ/
    ความคาดหวัง
    การดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

  • ลูกค้า

    ความต้องการ/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

  • หน่วยงานภาครัฐ

    ความต้องการ/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

  • คู่ค้า คู่ธุรกิจ

    ความต้อง/ความคาดหวังการดำเนินงานเพื่อตอบสนองแนวทางการมีส่วนร่วม

นโยบายสิทธิมนุษยชน

บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแ