Skip to main content

'พลาสติกเป็นผู้ร้าย'

จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศปี 2564 ของกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่ามีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นจำนวน 24.98 ล้านตันพบเป็น ขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) จำพวกถุงพลาสติกชนิดหูหิ้วแบบบาง กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก และแก้วน้ำดื่มแบบบาง

ขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเพียง 7.89 ล้านตันของขยะ ที่ถูกคัดแยกขยะและนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ อีก 9.28 ล้านตัน เข้าสู่ระบบการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง และอีกกว่า 7.81 ล้านตัน ไม่ได้รับกำจัดอย่างถูกต้อง หรืออาจเรียกได้ว่าขยะจำนวนนี้ คือขยะที่หลุดรอดลงสู่สิ่งแวดล้อม (รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย)

ประเทศเรายังขาดระบบรองรับการคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีขยะพลาสติกตกค้างในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากมีการสื่อสารวิธีการคัดแยกขยะจากต้นทางที่ดีไปยังผู้บริโภค ให้เกิดความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่น่าจะเป็นแนวทางที่จะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก ที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนี้ได้

'โครงการวน'

  • หมู่บ้านสายเขียว
  • เดลิเวอรี่
  • ศิลปากร
  • WWF
  • wash&share
  • ขอนแก่น
  • วน
  • เด็กๆ
  • ถุงพลาสติก
  • เก็บถุง

    โครงการวน นำหลักเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หัวข้อ 12 การผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบ และหัวข้อ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

    เรามีช่องทางการสื่อสารหลัก บนแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คแฟนเพจ ชื่อว่า “WONTOGETHER

    ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 30,000 คน และขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาบนแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คเป็นการนำเสนอข้อมูล เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการจัดการและคัดแยกขยะ รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ติดตามได้ตระหนักกันมากขึ้นและหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

    "วน รับถุงและฟิล์มพลาสติกชนิดอ่อน แห้ง และสะอาด"

    พลาสติกแบบไหนที่วนรับ?

    สังเกตได้จากความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นของพลาสติกประเภทโพลิเอทีลีน (PE) ทดสอบอย่างง่ายโดยการใช้นิ้วมือดันถุงและฟิล์มพลาสติก หากสามารถยืดได้ ไม่ขาดเปราะง่าย สามารถส่งเข้าร่วมกับโครงการวนได้เลย ตัวอย่างเช่น ถุงหูหิ้ว ถุงชอปปิ้ง ฟิล์มห่อสินค้า (ทิชชู่ ผ้าอนามัย และผ้าอ้อมเด็ก) ฟิล์มหุ้มแพ็คขวดน้ำ ฟิล์มหุ้มแพ็คกล่องนม พลาสติกกันกระแทก ซองไปรษณีย์พลาสติก ถุงซิปล็อกซองยา ถุงน้ำแข็ง ถุงขนมปัง ถุงน้ำตาลทราย ถุงผักและผลไม้ เป็นต้น หากมีสติ๊กเกอร์หรือกระดาษติดอยู่ควรตัดหรือแกะออกก่อนส่งมา วน

    จากนั้นโครงการจะนำถุงและฟิล์มพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (Mechanical Recycling) ให้กลับมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (Post Consumer Recycle Resin: PCR) สามารถกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในกระบวนการผลิตอีกครั้ง ผ่านการออกแบบสินค้าและผลิตภัณ์ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อเป็นการลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ใหม่ และเป็นการช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้ ซึ่งทุกๆ 1 กิโลกรัม ของถุงและฟิล์มพลาสติกคุณภาพดีที่บริจาค มีมูลค่า 5 บาท ทางโครงการวนจะรวบรวมเงินไปบริจาคต่อให้กับมูลนิธิ โครงการด้านสิ่งแวดล้อมหรือสาธารณประโยชน์

    'ถุงพลาสติก สู่ ผลิตภัณฑ์'

    เม็ดรีไซเคิล

    รู้จัก "โครงการวน" มากขึ้น

    ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี เราได้มีความร่วมมือกับเครือข่ายและพันธมิตรต่างๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรอิสระและหน่วยงานเอกชนมากมาย ในการขยายจุดส่งคืนถุงและฟิล์มพลาสติกยืดที่แห้งและสะอาดกลับมารีไซเคิล

    ณ ปัจจุบัน โครงการวน มีจุดส่งคืนถุงและฟิล์มพลาสติกยืดกว่า 400 จุด ทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือสามารถรวบรวมและส่งมาได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

    โครงการวน บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)

    42/174 หมู่ 5 ตำบลไร่ขิง ซอยศรีเสถียรนิเวศน์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 เบอร์โทร 080-305-3642 (สำหรับส่งพัสดุเท่านั้น)

    เครือข่ายความร่วมมือ

    กทม
    s&p

    สั่งซื้อสินค้าโครงการวน