Skip to main content

การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ มีแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐาน และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา และสอบทานประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ พร้อมทั้ง รายงานความเพียงพอของระบบ   
การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

หากระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ จะเป็นการช่วยให้บริษัทสามารถคาดการณ์ และบริหารจัดการโอกาสด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงความเสี่ยง อันเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่มีในปัจจุบันและอนาคต  การบริหารความเสี่ยงนับเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ช่วยในการวางแผนรองรับความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ได้อย่างเป็นระบบ โดยบริษัทนำมาตรฐานสากลมาเป็นกรอบในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจหลักการบริหารความเสี่ยงเพื่อนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในทุกระดับของบริษัทซึ่งครอบคลุมแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท

คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งเป็นผู้มีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญในการทำงานและการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยสมาชิก 5 ท่าน ทำหน้าที่ในการดำเนินการทบทวนกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยงโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง และจัดตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล (“คณะทำงาน”) เพื่อทำงานควบคู่ตามนโยบาย     
รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องต่อทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานและแผนธุรกิจ พร้อมการกำกับดูแลติดตามและสอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของหน่วยงานทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป คณะทำงานบริหารความเสี่ยง ความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วยสมาชิกจากหลากหลายฝ่าย โดยมีคุณชุลีพร บริสุทธนะกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (กิจการองค์กร) เป็นประธานคณะทำงาน รับผิดชอบสูงสุดในระดับปฏิบัติการด้านการตรวจประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยงINC Risk Structure tpbi

บริษัทกำหนดกรอบนโยบายและระบบการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่่ยงที่่ครอบคลุมการดำเนินงานของทั้งองค์กร ตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission - Enterprise Risk Management (COSO-ERM) นำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรบ่งชี้กำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยง (KRI) ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงจัดทำมาตรการบรรเทาความเสี่ยง ในส่วนผู้บริหารระดับสูงพิจารณาและกำหนดค่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) กำกับดูแลและติดตาม และทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในจากองค์กรภายนอกที่มีความเป็นอิสระจากหน่วยงานบริหารความเสี่ยงและมีสายการรายงานไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีหน้าที่่ตรวจสอบและสอบทานระบบควบคุมภายในและระบบบริหารความเสี่ยงขององค์์กร เพื่อให้้มั่นใจว่าการบริหารงานมีีประสิทธิิภาพและประสิทธิิผล รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางของบริษัท โดยมีการรายงานผลการตรวจสอบให้้คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายในขององค์์กรเป็นประจำทุกไตรมาส

คณะกรรมการตรวจสอบได้แต่งตั้งบริษัท ออนเนอร์ ออดิท แอนด์ แอดไวซอรี่ จำกัด ให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในของบริษัท ซึ่งบริษัท ออนเนอร์ ออดิท แอนด์ แอดไวซอรี่ จำกัด ได้มอบหมายให้ นางสาวปิยมาศ เรืองแสงรอบ กรรมการบริหารด้านการตรวจสอบ เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายใน โดยมีนางสาวทับทิม พิมพขันธ์ หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายในเป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานดังกล่าวภายในบริษัท

ลการบริหารจัดการความเสี่ยง

บริษัทได้ดำเนินการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง   เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ   โดยมีการเฝ้าระวังและติดตามผล
กระทบในภาพรวม เพื่อให้เกิดการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและผันผวน บริษัทได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับกลยุทธ์การดำเนินงาน นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงาน บริษัทได้นำแนวโน้มและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คาดการณ์ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อ
การดำเนินธุรกิจมาพิจารณาเพื่อบริหารความเสี่ยงในระยะกลางและระยะยาว รวมไปถึงการรวบรวมความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร เพื่อนำมาร่วมวิเคราะห์ผลกระทบและแนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการความเสี่ยงในระยะยาวควบคู่ไปกับการจัดการแผนยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนร่วมกัน