นโยบายและการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่การพัฒนาโมเดลธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการหมุนเวียนของวัสดุ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน ตลอดจนการจัดการของเสียหลังใช้งาน ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม ความเชื่อมั่นและคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติเศรษฐกิจ เพื่อให้การเติบโตของธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน ตอบสนองยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยเรื่องโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว และเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals; SDGs) อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ในช่วงกลางปี 2565 บริษัทจึงมีการปรับผังองค์กร โดยจัดตั้งฝ่าย Circular Economy (Circular Economy Department, CED) ภายใต้การกำกับดูแลของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (Chief Marketing Officer, CMO) เพื่อพัฒนาธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัท เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมกับสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยบริษัทมีการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนดังนี้
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุดของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบให้กับผู้ประกอบการที่มีความวิริยะ อุตสาหะ และมีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยปีพ.ศ. 2565 เป็นปีแรกที่ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นรางวัลที่เชิดชูเกียรติให้กับผู้ประกอบการที่มีการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักเกณฑ์การประเมิน 6 หมวดหลัก ได้แก่
1) การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
2) นวัตกรรม (Innovation)
3) การดูแลรับผิดชอบ (Stewardship)
4) ความร่วมมือ (Collaboration)
5) คุณค่าที่เหมาะสม (Value Optimization)
6) ความโปร่งใส (Transparency)
ซึ่งผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดการใช้วัตถุดิบใหม่ ลดปริมาณของเสียและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งผลจากการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกหมวดและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน - ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กร บริษัทผ่านเกณฑ์พิจารณาเป็นบริษัทนำร่องในการประยุกต์ใช้มาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน (มตช.2 เล่ม 2) และรับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก เพื่อขอรับการรับรองเป็นกลุ่มแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กรเพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี รศ. ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข.
- ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กร บริษัทผ่านเกณฑ์พิจารณาเป็นบริษัทนำร่องในการประยุกต์ใช้มาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน (มตช.2 เล่ม 2) และรับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก เพื่อขอรับการรับรองเป็นกลุ่มแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กรเพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี รศ. ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข.
- The 94th Tokyo International Gift Show Autumn 2022 บริษัทร่วมกับแบรนด์ Qualy ส่งผลงานเม็ดพลาสติก รีไซเคิลและผลิตภัณฑ์จากวัสดุ rFoil เข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน Tokyo International Gift Show Autumn 2022 เพื่อแสดงนวัตกรรมวัสดุพลาสติก rFoil ซึ่งผลิตจากขยะพลาสติกประเภทซองลามิเนตอะลูมิเนียมฟอยล์
Figure Ref: https://www.facebook.com/qualydesign/photos
- TCDC Material Database บริษัทร่วมกับแบรนด์ Qualy นำเสนอและขึ้นทะเบียนวัสดุเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rFoil ในฐานข้อมูลวัสดุไทย TCDC Material Database ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลวัสดุประเภทต่าง ๆ โดยได้รวบรวมรายละเอียดวัสดุ ข้อมูลการติดต่อผู้ประกอบการที่น่าสนใจและมีนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการขยายโอกาสของบริษัทในการต่อยอดเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rFoil ในเชิงพาณิชย์ โดยให้นักออกแบบและกลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลวัสดุ rFoil ได้สะดวกมากยิ่งขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์
นอกเหนือจากนี้บริษัทได้จัดทำโครงการวนเพื่อมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียให้ถูกนำกลับไปเป็นทรัพยากรหมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม ผ่านการออกแบบตัวสินค้า และระบบในการจัดเก็บขยะให้เกิดการนำสินค้ากลับมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบสร้างการผลิตหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุดและเกิดของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้ ดังนี้