คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้งได้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน (The Principles of Good Corporate Governance of Listed Companies) ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานทำให้เกิดความโปร่งใสต่อนักลงทุนอันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อบุคคลภายนอก และเผยแพร่ไปยังกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยอ้างอิงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน
โดยมีการประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน พร้อมทั้งกำหนดให้พนักงานเข้ารับการอบรมและผ่านการรับรองจรรยาบรรณธุรกิจเป็นประจำทุกปี มีการเน้นย้ำในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อบังคับ โดยเฉพาะมาตรฐานทางจริยธรรม จึงถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของบริษัทที่จะให้พนักงานทุกคนนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปใช้อย่างเคร่งครัดโดยสมบูรณ์ เพื่อให้ปราศจากการประพฤติมิชอบในหน้าที่
ความท้าทายที่สำคัญอีกประการ คือ การมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่มีประสิทธิภาพ และมีกระบวนการติดตามการดำเนินงานที่เข้มงวด โดยเชื่อมโยงข้อมูลของการบริหารความเสี่ยง กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และหลักธรรมาภิบาลเข้าด้วยกัน ทำให้การบริหารงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย สร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
การกำกับดูแลกิจการที่ดีสู่ความยั่งยืนของบริษัท
บริษัทได้กำหนด ให้มีการพิจารณาทบทวนคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผ่านการนำเสนอจากคณะกรรมการความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เพื่อปรับปรุงคู่มือฯ ดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั่วทั้งองค์กรครอบคลุมถึงบริษัทย่อยได้ ตลอดจนข้อมูลสรุปเกี่ยวกับหลักปฏิบัติที่ยังดำเนินการไม่ได้สำหรับบริษัทพร้อมทั้งเหตุผลและมาตรการทดแทน
นอกจากนี้บริษัทได้สื่อสารและเผยแพร่ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องลงนามรับทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติส่วนหนึ่ง ในการทำงานนำไปยึดถือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเผยแพร่บน Website ของบริษัทและช่องทางสื่อสารภายในของบริษัท
ด้านความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เพื่อให้สามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท คณะกรรมการจึงมีการทบทวนความเหมาะสม และความเพียงพอของนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจสภาพแวดล้อมที่อาจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรวมถึงกฎหมาย กฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติ และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย
ในปี 2566
- คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบการปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นครั้งที่ 6 โดยเป็นการปรับปรุงหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการทีดี และสถานการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ด้วยความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการดำเนินงานบนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำให้บริษัทได้รับการจัดอันดับด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในระดับดีเลิศ (Excellent) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ในโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report : CGR) ประจำปี 2566 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4
- กรรมบริษัททุกท่านมีวาระดำรงตำแหน่งต่อเนื่องไม่เกิน 9 ปีนับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการครั้งแรก
- กรรมบริษัททุกท่านเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนของกรรมการแต่ละท่านรวมแล้วไม่เกิน 5 บริษัท (โดยไม่มีข้อยกเว้น) เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่
- บริษัทกำหนดตารางการประชุมกรรมการบริษัทล่วงหน้าตลอดทั้งปี และแจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าก่อนสิ้นปีของปีปัจจุบัน เพื่อวางแผนเข้าร่วมประชุม โดยบริษัทได้จัดการประชุมทุก ๆ เสาร์ที่ 1 หรือ 2 ของเดือน กุมภาพันธ์ เมษายน (หลัง AGM) พฤษภาคม สิงหาคม พฤศจิกายน ธันวาคม และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น
- มีการกำหนดวาระประชุมชัดเจนล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ บริษัทจะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสารประกอบการประชุมให้กรรมการทุกท่านล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุม เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
ด้านการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
บริษัทจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis) เพื่อประกอบการเปิดเผยงบการเงินและจัดทำจดหมายข่าว เพื่อรายงานผลประกอบการฉบับย่อเป็นประจำทุกไตรมาส โดยเผยแพร่ผ่าน Website ของบริษัท รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม Opportunity Day ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2566 บริษัทเข้าร่วมกิจกรรม Opportunity Day จำนวน 2 ครั้ง และจัดทำจดหมายข่าวเผยแพร่ผ่านทาง Website บริษัท รายละเอียดดังนี้
- วันที่ 17 มีนาคม 2566 เพื่อรายงานผลประกอบการของปี 2565
- วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เพื่อรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2566
การรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส
ในปี 2565 บริษัทติดตามรายงานการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนผ่านช่องทางในการร้องเรียนทั้ง 6 ช่องทาง พบว่าได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 203 เรื่อง ซึ่งเป็นประเด็นสินค้า บริการและการอำนวยความสะดวกของพนักงาน และไม่มีผู้แจ้งเบาะแสข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันหรือการทำผิดคุณธรรมจริยธรรม อย่างไรก็ดีประเด็นเรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้ดำเนินการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการให้ความสำคัญเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างสุจริต ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
บริษัทส่งเสริมการปฏิบัติงานและการกำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้มาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ร้องเรียนสามารถสอบถามรายละเอียดแจ้งข้อร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิดทางกฎหมาย ความไม่ถูกต้องของรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในที่บกพร่องหรือการผิดจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ส่งเรื่องร้องเรียนได้ผ่าน 6 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ โทรศัพท์ อีเมล จดหมาย และด้วยตนเอง โดยหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์และเลขานุการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบในการรับความคิดเห็น ข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้ถือหุ้นและนักลงทุนขณะที่ตัวแทนฝ่ายบริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์รับผิดชอบในการรับข้อคิดเห็นและเรื่องราวร้องทุกข์จากพนักงาน ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทำวิธีปฏิบัติงานต่อข้อร้องเรียนของผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ อย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิรวมถึงคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน โดยผู้ร้องเรียนดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองและเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ ซึ่งเข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีมีข้อร้องเรียนว่าอาจมีการกระทำความผิดจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนจากส่วนงานที่ไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าว เพื่อสอบสวนและดำเนินการตามข้อบังคับทางวินัยของบริษัท และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทต่อไป
ช่องทางในการร้องเรียน
ช่องทางที่ 1 การร้องเรียนด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) : 42/174 หมู่ 5 ซอยศรีเสถียรนิเวศน์
ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
ช่องทางที่ 2 การร้องเรียนโดยจัดทำเป็นหนังสือและส่งมาที่เลขานุการบริษัท : บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 หมู่ 5
ซอยศรีเสถียรนิเวศน์ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
ช่องทางที่ 3 การร้องเรียนทางโทรศัพท์หรือโทรสาร : โทรศัพท์ 0-2429-0354-7 ต่อ 501 หรือ โทรสาร 0-2429-0358
ช่องทางที่ 4 การร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท (www.tpbigroup.com)
ช่องทางที่ 5 การร้องเรียนผ่านทางอีเมล
คณะกรรมการตรวจสอบ :
นักลงทุนสัมพันธ์ :
เลขานุการบริษัท :
ช่องทางที่ 6 กล่องรับความคิดเห็น สำหรับพนักงาน